ธนัญญา ถิรปัญญาเลิศ (เอิร์ธ)

แนะนำตัวเอง

  • ชื่อ เอิร์ธ ธนัญญา ถิรปัญญาเลิศ อายุ 21 ปี เป็นนักศึกษาคณะดนตรี ชั้นปีที่3 Major Music Business, Minor Songwriting เครื่องเอก Piano Jazz และเครื่องรอง Vocal Jazz
  • จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียน ไทยคริสเตียน
  • ปัจจุบันรับตำแหน่ง รองประธานคณะดนตรี ประจำคอมมิตีรุ่น 16
  • เคยรับตำแหน่งเป็นตัวแทนคณะประกวดดาวเดือนมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หรือที่เรียกว่า Princess คณะดนตรีประจำปี 2018 และได้ตำแหน่งรองชนะเลิศอันดับ 2 Princess of AU (ดาวมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ)
  • ปัจจุบันเป็นศิลปิน Duo ในค่ายเพลงอิสระ Lunar Musica ภายใต้ชื่อวง TananTana ซึ่งโปรดิวซ์โดยพี่นอ นรเทพ มาแสง มือเบสวง Pause ค่ะ

 

ทำไมถึงเลือกมาเรียนที่คณะดนตรีเอแบค

เริ่มต้นมาจากการที่เอิร์ธเป็นคนที่ชอบเล่นดนตรีและเล่นเป็นงานอดิเรกมาตั้งแต่เด็ก เอิร์ธเล่นดนตรีหลายชนิดแต่หลักๆจะเป็นเปียโนและร้องเพลง จนตอนเอิร์ธเข้าม.ปลาย เอิร์ธห่างกับดนตรีมากๆ เพราะเรียนติวภาษาจีนเพื่อจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยรัฐ ในคณะนิเทศศาสตร์ แต่เอิร์ธตั้งใจมาตลอกว่าจะไม่เลิกเล่นดนตรี และยังคงเก็บดนตรีเป็นงานอิดเรกที่ชอบที่สุดมาตลอด จนถึงม.6 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของมัธยม เอิร์ธได้ไปเจอค่ายที่จัดโดยคณะดนตรี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ที่เปิดโอกาสให้เด็กนักเรียนชั้นม.ปลายเข้ามา Workshop เป็นเวลา 3 วัน 2 คืน ในปีนั้นที่เอิร์ธสมัคร เป็นค่ายพิเศษ ชื่อว่าค่าย Junior Songwriting เป็นค่ายที่ไม่มีค่าใช้จ่าย และรวมเด็กที่มีความสนใจด้านดนตรีและการแต่งเพลงจากทั่วประเทศมาเรียนด้วยกัน ค่ายยั้ยรับสมัครโดยที่ผู้สมัครต้องแต่งเพลงของตัวเองส่งเข้ามาให้ทางคณะคัดเลือก เอิร์ธและเอม(น้องสาว) ก็ตั้งใจมากๆที่จะแต่งเพลงส่งเข้ามาในตอนนั้น สำหรับเอิร์ธ ในตอนนั้นค่ายนี้เหมือนเป็นโอกาสสุดท้ายที่เอิร์ธจะได้จริงจังกับดนตรีแบบเต็มที่ ก่อนจะสอบเข้าเรียนมหาวิทยาลัยในคณะอื่น

ในค่ายมี wprkshop หลายรูปแบบ มีพี่ๆศิลปินที่คอยให้ความรู้ และเพื่อนทุกคนเก่งมากๆ เป็นค่ายที่สนุกที่สุดครั้งนึงในชีวิต ทุกๆคนเข้ากันได้เพราะรักในสิ่งเดียวกัน และในค่ายนั้นมีการมอบทุนการศึกษาเข้าคณะดนตรีจำนวน 2 ทุนให้นักเรียนที่มาเข้าร่วม เอิร์ธมีโอกาสเป็น 1 ใน 2 เด็กนักเรียนที่ได้ทุนจากค่ายนี้ และเอิร์ธตัดสินใจรับทันที และเข้ามาเรียนคณะดนตรี ได้เรียนในสิ่งที่รัก และมีโอกาสได้ทำตามความฝันหลายๆอย่าง เพราะคณะดนตรีนี้ค่ะ

 

โมเม้นท์การเป็นนักศึกษาคณะดนตรีที่ชอบ

ช่วงที่ชอบที่สุดของการเป็นนักศึกษาคณะดนตรีคือช่วงที่เป็น Princess คณะตอนปี1ค่ะ เริ่มต้นจากเราเป็นคนที่บ้านไกลมากๆ ต้องเดินทางระหว่างบ้านกับม.ประมาณ ครึ่งถึง1ชั่วโมง และมีตารางเรียนในเทอมนั้นแน่นมาก การเป็นPrincess ในตอนนั้นคือต้องเดินจากตึกนอกสุด เข้าไปด้านในสุดของมหาลัยคนเดียวตอนเย็นๆ ไปซ้อมการแสดง ซ้อมเต้นต่างๆตั้งแต่ประมาณ 5 โมงถึงประมาณ4 ทุ่มทุกวัน เอิร์ธกลับถึงบ้านประมาณเที่ยงคืน และตื่นเช้ามาเรียน 9 โมง และกลับถึงบ้านเกือบเที่ยงคนทุกวัน เอิร์ธเป็นคนที่จะมาถึงคณะก่อนเรียนทุกวันและมาแอบงีบที่คณะ เวลาว่าง แต่สิ่งที่ประทับใจที่สุดในช่วงนั้น คือทุกคน พี่ๆเพื่อนๆ อาจารย์และใครก็ตาม ที่เห็นเราพยายาม เห็นเราเหนื่อย คอยให้กำลังใจตลอด ทุกคนเฟรนด์ลี่มากๆ ทุกคนคอยให้กำลังใจ คอยช่วยเหลือเยอะมากๆ และตลอดระยะเวลาประมาณ 1 เดือนที่ต้องเหนื่อยทุกวัน ไม่เคยมีวันไหนที่ไม่มีกำลังใจเลย ไม่มีวันไหนที่ไม่มีคนเดินผ่านมาแล้วบอกว่า เหนื่อยมั๊ย สู้ๆนะน้องเอิร์ธ หรือเพื่อนๆ อาจารย์ที่คอยถามสารทุกข์สุขดิบกันตลอด อาจจะเพราะเอิร์ธเป็นคนที่เห็นได้ชัดเวลาเหนื่อยหรือโทรม แต่นั่นทำให้เอิร์ธรู้สึกว่าเป็นคนที่โชคดีมากๆที่ได้รับโอกาสในการได้สัมผัสกับสิ่งเหล่านั้น

 

Event ที่มีเฉพาะในคณะดนตรี

คณะดนตรี เป็นคณะที่มีงานเยอะมาก ไม่ใช่ทุกคนที่จะรู้ว่ามีงานอะไรเกิดขึ้นตอนไหนบ้างเลย เพราะคณะเรามีงานซึ่งแจกจ่ายให้กับนักศึกษากระจายกันไปตลอดเวลา เรียกว่าเป็นคณะที่ไม่เคยว่าง ทั้งงานลาดงานหลวง แต่กินกรรมใหญ่ที่สุดที่เกิดขึ้นในทุกๆเทอม คือ AU Music Camp หรือค่ายคณะดนตรีนั่นเอง ซึ่งเป็นค่ายเดียวกับที่เอิร์ธได้ทุนมา ค่ายคณะดนตรีเป็นค่ายที่จัดขึ้นโดยคณะดนตรี และไม่มีที่ไหนเหมือน เป็นค่ายที่รับนักเรียนชั้นมัธยมปลายจากทั่วประเทศ ส่งคลิปออดิชั่นมาเพื่อเลือกหาคนที่เหมาะสม มาเข้าร่วม Workshop ที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จะมีค่ายเล็ก ซึ่งยาว 3 วัน และค่ายใหญ่ 4 วัน สลับกันไป ค่ายนี้เป็นค่ายที่สร้างแรงบันดาลใจและมอบโอกาสเสมอ ค่ายคณะดนตรี จะมีทั้งพี่ๆศิลปิน อาจารย์และผู้มีประสบการณ์ด้านดนตรีในวงการต่างๆมาคอยให้ความรู้น้องๆเกี่ยวกับทุกๆด้านของดนตรี ไม่เพียงแต่การแสดงดนตรี แต่รวมถึงการอัด การทำเพลง การปล่อยเพลง ไปจนถึงธุรกิจดนตรี ค่ายนี้ในทุกๆปีจะรวมคนที่มี Passion ด้านดนตรีมาไว้ด้วยกัน และดูแลโดยพี่ๆนักศึกษาทุนคณะดนตรีซึ่งมาเป็นสต๊าฟ คนที่มาร่วมในค่ายทุกๆปี จะได้ทั้งมิตรภาพ ความสนุก ความรู้ และแรงบันดาลใจกลับไปในทุกๆปี ในมุมมองของคนที่ได้เข้าคณะนี้มาจากการเป็นเด็กค่ายที่ประทับใจในความรู้สึกแบบนั้น จนมาเป็นพี่สต๊าฟประจำค่ายที่คอยดูแลน้องๆและเข้าฟัง workshop ทุกๆครั้งด้วย เอิร์ธก็เป็นหนึ่งในคนที่ได้แรงบันดาลใจและโอกาสจากค่ายนี้มากๆ น้องๆหลายๆคนก็ทำเพลงและปล่อยออกมากับเพื่อนๆในค่ายที่ได้เจอกัน หรือนำความรู้จากในค่ายไปประยุกต์ใช้ให้ได้เห็นตามสื่อต่างๆ ส่วนตัวเอิร์ธเอง ได้เจอกับพี่นอ Pause ซึ่งปัจจุบันเป็นโปรดิวเซอร์ที่ชวนเอิร์ธมาทำเพลงด้วยกันจนถึงทุกวันนี้ค่ะ

 

ห้องซ้อม และ Music Lab

พูดถึงคณะดนตรี หลายๆคนรู้ว่าคณะเราเป็นคณะที่มีค่าเรียนต่างๆค่อนข้างสูงกว่าหลายๆคณะในมหาวิทยาลัย แต่ค่าใช้จ่ายเหล่านั้น ต่างแลกมาด้วย Facilities ต่างๆที่นักศึกษาคณะดนตรีเท่านั้นที่มีสิทธิ์ใช้ได้ เริ่มจาก ห้องซ้อมต่างๆ คณะดนตรี มีชั้นคณะอยู่บนตึก CL ตั้งแต่ชั้นที่ 22 ถึง 26 ในแต่ละชั้นก็แบ่งเป็นห้องเรียน ห้องแสดง ห้องพักอาจารย์ และห้องซ้อมต่างๆ ในห้องซ้อมเหล่านั้น มีเปียโนอยู่เหือบทุกห้อง และนักศึกษาสามารถเข้าไปใช้ได้ตลอดเวลาโดยไม่มีจำกัดใดๆ ส่วนห้องซ้อมรวมวง ก็มีอุปกาณ์ให้ยืมครบถ้วน เพพียงแต่ต้องเขียนชื่อยืมคืนอุปกรณ์และจัดเก็บให้เป็นระเบียบและใช้อย่างระมัดระวัง เนื่องจากอุปกรณ์ต่างๆเหล่านี้ ล้วนมีราคาสูงมาก นอกจากนี้ Computer lab ของคณะดนตรี เป็น iMac ทั้งหมด วิชาต่างๆที่ต้องเรียนผ่านคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมด้านดนตรีต่างๆ คณะดนตรีมีให้นักศึกษาใช้ทั้งหมด โดยต้องลงชื่อเข้าใช้ให้เรียบร้อยนั่นเอง

 

สังคมในคณะดนตรี

เนื่องจากคณะดนตรีเป็นคณะเล็กคณะหนึ่ง ซึ่งในแต่ละรุ่นมีนักศึกษารวมประมาณ 30 คน ทำให้ทุกๆคนรู้จักกันและเจอกันตลอด เรียกได้ว่าเดินไปตรงไหนก็ต้องทักทุกคนเพราะแทบจะไม่มีใครไม่รู้จักกัน คณะของเราเปิดสอนวิชาต่างๆมากมาย ซึ่งแน่นอนว่าการเข้าเรียนนั้น ยังไงก็เจอคนรู้จัก เราจะไม่มีความรู้สึกเหมือนกันไปลงเรียนวิชา GE ที่เจอใครไม่รู้ เห็นกันในห้องเรียนจนจบเทอมก็ยังไม่รู้จักกัน แต่ในคณะดนตรี ยิ่งคนน้อย เป็นข้อดีที่ทำให้อาจารย์เข้าถึงและจำนักศึกษาได้ ส่งผลให้วิชาเรียนมีความเข้าถึงกันมากขึ้น นักศึกษาคณะดนตรีสามารถเดินเข้าไปคุยกับอาจารย์ สอบถามปรึกษาได้โดยไม่ต้องกลัว เพราะเรารู้จักกันหมด อาจารย์ก็รู้จักเรา ถ้ามีข้อสงสัยอะไรก็ตาม เราสามารถถามรุ่นพี่ อาจารย์ เพื่อนๆได้ตลอด โดยไม่มีความรู้สึกเป็นคนแปลกหน้ากัน เราอาจจะไม่ได้สนิทกันทุกคน แต่สิ่งที่สามารถพูดได้คือ เรารู้จักกันหมดเกือบและหากต้องการความช่วยเหลือจริงๆ เราสามารถมองหาจากเพื่อนๆพี่ๆน้องๆและอาจารย์ ในคณะได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งเสมอค่ะ